มารู้จักใบกำกับภาษี(Tax Invoice)กันเถอะ

ใบกำกับภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนได้พบเห็นกันทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นจากการซื้อของในร้านสะดวกซื้อ หรือจากค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางท่านอาจจะไม่สนใจด้วยซ้ำ ว่าใบเสร็จเหล่านั้นที่ได้มา คืออะไร? เอาไปทำอะไรได้บ้าง?
แต่สำหรับผู้ประกอบการ แล้วนั้นเอกสารใบกำกับภาษีเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็น “หัวใจ”ของคนทำธุรกิจเลยที่เดียว บทความนี้เราจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับใบกำกับภาษี หรือ Tax Invoice มานำเสนอกัน

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันว่า “VAT” จะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ
เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บ หรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง
โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่คิดจากราคาขาย ในกรณีเราเป็นคนขายหรือให้บริการนั้นเรียกว่า “ภาษีขาย หรือ Output VAT” แต่กรณีเป็นผู้ซื้อสินค้า หรือบริการที่ผู้ขายคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับเอกสารใบกำกับภาษีมา ส่วนของภาษีที่จ่ายไปจากราคาสินค้า หรือบริการนั้นเรียกว่า “ภาษีซื้อ หรือ Input VAT” นั่นเอง

ใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี?

หากดูจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดไว้ว่าให้ “ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ผู้ประกอบการจดทะเบียน)
และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนฯต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (ถ้ามีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หากประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถท าได้เช่นกัน)

การออกใบกำกับภาษีทำได้อย่างไร?

  • กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบ ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี
  • กรณีการให้บริการผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันที ที่ได้รับชำระค่าบริการ หรือเมื่อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระค่าบริการ แล้วแต่กรณี

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำสำเนาใบกำกับภาษี และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษีไว้ ณ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

ประเภทของใบกำกับภาษี
ถ้าดูจากคู่มือภาษีของกรมสรรพากรจะแยกประเภทใบกำกับภาษีไว้ดังนี้

  1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (มาตรา 86/4)
  2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (มาตรา 86/6)
  3. ใบเพิ่มหนี้ (มาตรา 86/9)
  4. ใบลดหนี้ (มาตรา 86/10)
  5. ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่นตามมาตรา83/5
  6. ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่ออกให้ส าหรับการช าระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 หรือมาตรา 83/7 (มาตรา 86/14)
  7. ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต ออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากร (มาตรา 86/14)

แต่ที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้กันอยู่เพียง 2 รูปแบบเท่านั้นคือ “ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป และ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”

ตามหลักการแล้วผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มี
การขายสินค้าหรือการให้บริการ แต่ก็มีข้อยกเว้นตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรให้สิทธิเลือกไม่ต้องออกใบกำกับภาษีได้ โดยมีกรณีดังนี้

กรณีที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี

1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย

กำหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบก ากับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี สำหรับกิจการดังต่อไปนี้

  • การขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
  • การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยงานที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
  • การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือการกระทำใด ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน
  • การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
  • การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
  • การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
  • การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า

2. การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมัน

การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกำกับภาษี โดยจะต้องยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่
สำเนา ภ.พ.20 สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน หรือใบทะเบียนจัดตั้งสถานีบริการน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และแผนผังแสดงที่ตั้งพร้อมทั้งจำนวนหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและถังเก็บน้ำมันตามกฎหมาย

ข้อห้ามการออกใบกำกับภาษี

  1. ห้ามบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน กล่าวคือ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพแต่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 หรือมาตรา85/1
  2. ห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมิได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการจริง กล่าวคือการออกใบกำกับภาษีตามกฎหมายนั้น นอกจากผู้ออกจะต้องมีฐานะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนแล้วยังต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้น จึงจะถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จะต้องออกใบก ากับภาษีนั้นได้ ดังนั้น แม้จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหากมิได้ขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นจริงแล้วออกใบก ากับภาษีแล้ว อาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา นอกจากนี้ยังมีผลไปถึงผู้ประกอบการซึ่งน าใบก ากับภาษีดังกล่าวไปใช้ในการเครดิตภาษีด้วย
  3. ห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้ให้ตัวแทนของตนออกใบกำกับภาษีแทนตน ตามมาตรา 86/2 เนื่องจากประมวลรัษฎากรกำหนดให้ตัวแทนทำหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรแล้ว
  4. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ทรัพย์สินถูกนำขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นโดยบุคคลอื่นตามมาตรา 83/5 เนื่องจากประมวลรัษฎากรกำหนดให้หน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีเป็นของผู้ขายทอดตลาด

สรุป
…ใบกำกับภาษี ถือเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งของระบบภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำ ฉะนั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับรายละเอียดการจัดทำใบกำกับภาษี
ฉะนั้นเพื่อที่จะสามารถดำเนินการจัดทำใบกำกับภาษีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในบทความต่อๆไปเราจะมาเรียนรู้การออกใบกำกับภาษีแต่ละแบบกัน…

ที่มา รูปภาพ
https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf
https://www.pexels.com/th-th/search/tax/