อยู่อย่างไรให้รอด ในภาวะเงินเฟ้อ!?

“เผยเงินเฟ้อมีนาคม 2565 เพิ่มขึ้น 5.73% สูงสุดในรอบ 13 ปี เหตุได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ค่าไฟ ราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น คาดแนวโน้มสูงต่อ หลังผลกระทบจากสงคราม ก๊าซหุงต้ม น้ำมันขึ้น ล่าสุด ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2565 ใหม่เป็น 4-5% และมีแนวโน้มอาจจะปรับตัวขึ้นได้อีก”

ข่าวเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมีให้พบเห็นกันทุกวัน จนหลายคนที่ไม่รู้ก็ต้องรู้ ว่ามันกระทบต่อชีวิต และการดำเนินชีวิตของเราเข้าอย่างจัง ฉะนั้นเรามาดูทางรอดกันดีกว่า ว่าเราจะรอดจากช่วงภาวะนี้กันได้อย่างไรก่อนอื่นเรามาดูความหมายของเจ้าภาวะเงินเฟ้อกันก่อนดีกว่า ว่ามันเกิดมาได้อย่างไร

เงินเฟ้อ คืออะไร?

เงินเฟ้อ คือสภาวะ ที่ราคาสินค้าและบริการ ที่ซื้อกินซื้อใช้มีแนวโน้มปรับราคาขึ้น ที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ของแพงขึ้น เรียกว่า ภาวะเงินเฟ้อทำให้ค่าเงินของคุณด้อยค่าลงนั้นเอง เช่นจากเงิน10 บาทซื้อของได้5ชิ้น พอเงินเฟ้อคุณซื้อได้เพียง2 ชิ้นเท่านี้น

ส่วนสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อล่ะ!?
ตามหลักเศรษฐศาสตร์บอกไว้ว่า

  1. เกิดจากอุปสงค์ เกิดจากการที่ประชาชนมีเงินในมือมาก หรือมีเงินในระบบเศรษฐกิจมาก แต่สินค้ามีน้อย จึงทำให้สินค้าแพง
  2. เกิดจากอุปทาน คือเกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ต้องขึ้นราคาสิ้นค้า และบริการมากขึ้น

ส่วนต้นตอการเกิดที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน เราๆ ท่านๆ คงรู้กันดีอยู่แล้วว่า จุดเริ่มต้นมาจาก ภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค อย่างCovic-19 ทำให้เกิดปัญหากันโรงงาน ราคาพลังงานที่สูงตาม ภาคการขนส่งเกิดปัญหา ผลผลิตไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นของ รัสเซีย-ยูเครน รวมถึงผลกระทบทางอ้อมจากนโยบายการเงินการธนาคาร นี่ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน
การที่จะรอการแก้ไขจากภาครัฐบาลและธนาคารกลาง ว่าจะจัดการปัญหาเงินเฟ้อได้อยู่หมัดได้หรือไม่ และเมื่อไหร่ คงจะไม่ได้รวดเร็วทันใจอย่างที่คิดหวังเนื่องจากต้องใชพลังทั้งนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังคอบคู่กันไป ฉะนั้นก่อนที่จะรอความช่วยเหลือต่างๆเหล่านั้น เรามาหาวิธีช่วยตัวเองให้รอดในช่วงนี้กันก่อนดีกว่า

4 วิธีเอาตัวรอดช่วงเงินเฟ้อ?

1. ทบทวนการใช้จ่าย

เน้นการใช้จ่ายกับสิ่งของที่จำเป็น ตัดสิงของที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย การเดินทาง ควรจะพิจารณาว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการจับจ่ายและเดินทาง สิ่งที่หลีกเลี่ยงหรือชะลอโครงการไว้ก่อนได้ก็ควรจะทำ ไม่ควรเสี่ยงที่จะต้องใช้จ่ายในทันที

2. เพิ่มช่องทางรายได้

หาช่องทางใหม่ๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพเสริม ทั้งการหาอะไรใหม่ๆ เพราะในภาวะหรือวิกฤตที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาส หลายๆครั้งที่มีวิกฤตมักจะเกิดอาชีพใหม่ๆขึ้นมา เช่นในภาวะโรคระบาดเราจะเห็นว่ามีการค้าขายออนไลน์ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งผู้ขายและแพลตฟอร์มให้บริการ รวมถึงการดึงทักษะที่ชำนาญ ออกมาทำการสอนผ่านระบบออนไลน์สร้างรายได้ให้กับตัวเองอย่างมากมาย รายได้ที่เพิ่มขึ้นนี่แหละจะช่วยลดความกังวล และทำให้คุณรอดจากเงินเฟ้อไปได้อย่างสบายๆ แน่นอน

3. ตรวจเช็กสินเชื่ออีกครั้ง

ในภาวะที่เงินเฟ้อทำงาน มีโอกาสที่
ดอกเบี้ยสินเชื่อจะขึ้นไปได้เรื่อยๆเช่นกัน จึงไม่ควรจะทำการกู้ยืมอะไรที่เป็นเงินก้อนใหญ่ แต่ถ้าเกิดภาวะจำเป็นที่ต้องกู้ ควรเลือกดอกเบี้ยแบบ FIX ไว้ในระดับต่ำ อย่างกู้ที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว เพราะดอกเบี้ยจะสูงตามเงินเฟ้อไปอย่างไม่หยุดแน่นอน เทคนิคการรีไฟแนนซ์เพื่อหาทางลดดอกเบี้ยลงและคงอัตราดอกเบี้ยต่ำไว้ ก็อาจจะต้องนำมาใช้ในกรณีที่คุณมีสินเชื่อเก่าที่มีการลอยตัวจนคุณอาจจะแบกรับไม่ไหว

4. เมื่อมีเงินออมก็ควรจะกระจายความเสี่ยง

การมีเงินออมฉุกเฉิน 6-12 เดือนคือเงินออมปกติ แต่ภาวะนี้คุณควรมีเงินออมไว้สัก 18 เดือนก็จะเป็นการอุ่นใจมากๆ และเมื่อคุณสำรองเงินฉุกเฉินไว้เรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถนำเงินอีกส่วนมาลงทุนกระจายความเสี่ยงเพื่อเอาชนะภาวะเงินเฟ้อได้ การลงทุนควรกระจายออกไม่ควรกระจุกอยู่เพียงการลงทุนอย่างเดียว “แต่คุณควรลงทุนในสิ่งที่คุณถนัด รู้และเข้าใจเท่านั้น” การลงทุนในสิ่งที่คุณไม่รู้เท่ากับคุณได้เสียเงินไปฟรีๆ

อย่างไรก็ดีด้วยภาวะกลไกลทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเงินฝืด ย่อมเกิดได้เสมอ ฉะนั้นการวางแผนทางการเงินอย่างมีวินัย การปรับเปลี่ยนให้ทันช่วงวิกฤตและโอกาส จะช่วยให้คุณรอดจากทุกสถานการณ์ทางการเงินแน่นอน

“ภาวะแบบนี้การถือเงินสด
เป็นสิ่งสุดท้ายที่ควรจะถือ
เพราะถ้ามันเกิดรุนแรงขึ้นกว่านี้
ค่ำเงินมันจะล่วงลงไปทันทีอย่างรวดเร็ว”
-วอร์เรน บัฟเฟตต์-

ขอบคุณข้อมูลรูปภาพจาก

https://workpointtoday.com/


https://www.pexels.com/

และ Mission to the Moon ท่านสามารถรับชมได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=1HFUYPrZj8A