เรื่องของ คลาวด์ (Cloud)

มาถึงยุคนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก “คลาวด์” กันแล้วละนะ แต่อย่างไรเรื่องของคลาวด์ ก็ยังมีเรื่องที่น่าสงสัย ใคร่รู้อยุ่สำหรับบางคน ว่าทำไม่ คลาวด์ จึงสำคัญกับธุรกิจ และชีวิตของคนทั่วไป วันนี้เราจะมาลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับคลาวด์ กันดู

คลาวด์ (Cloud) คืออะไร?

คำว่า “Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตโดยแลกกับการเสียค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ซึ่งระบบ Host ออนไลน์นี้มีตั้งแต่ Scale เล็ก ไปจนถึงใหญ่มากเลยทีเดียว
สิ่งแรกที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ Cloud คือ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้บันทึกไฟล์ไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่คุณใช้โดยตรง แต่ไฟล์เหล่านั้นก็ยังต้องมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บไว้ที่ไหนสักแห่ง นั้นหมายความว่า เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านช่องทางบริการต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนเครื่องเลยทีเดียว เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า Server Farms
ดังนั้นพูดอย่างง่ายที่สุดได้ว่า คลาวด์คือชุดเซิร์ฟเวอร์และกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ศูนย์ข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วโลกที่เราสามารถเก็บข้อมูลได้ และมันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือคุณไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์ของคุณสามารถเข้าถึง Internet ได้ คุณก็สามารถเข้าถึง Cloud ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก เรียกได้ว่าเมื่อคุณจัดเก็บไฟล์บน “คลาวด์” นั่นหมายถึงคุณ “กำลังจัดเก็บไฟล์ออนไลน์”

ฟังก์ชันและการทำงานของคลาวด์

เพราะคลาวด์เป็นโซลูชันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัล ในขณะที่ฟังก์ชั่นพื้นฐานของ คลาวด์ ที่ทุกคนทราบกันดี คือ การทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบดิจิตอลออนไลน์ แต่ความสามารถที่แท้จริงของคลาวด์นั้น คือการประมวลผล ซึ่งการประมวลผลของระบบคลาวด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชั่นหลักดังนี้

  • การบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS) หมายถึงผู้จัดหาหรือเจ้าของ Cloud นำเสนอพื้นที่ว่างใน Server ของตนเองให้แก่ผู้ใช้งานเพื่อใช้ในจุดประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือ Web Hosting ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ใช้งานยังคงสามารถดำเนินการ แก้ไข และจัดการข้อมูลของตนเองได้ ในขณะที่เจ้าของ Cloud ทำหน้าที่เสมือนผู้ให้เช่าเท่านั้น ตัวอย่างรูปแบบ IaaS ก็เช่น การใช้งาน Dropbox ที่เราสามารถเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา โดย Dropbox ทำหน้าที่เป็นเพียง Server เท่านั้น หรืออีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ Netflix ที่นำเอาหลักการ IaaS เพื่อจัดการและจัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์จำนวนมหาศาล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ถูกเข้าถึงและใช้งานซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดด้วยผู้ใช้งานทั่วโลก หรือแม้แต่ Website ต่างๆ ที่เราเห็นกัน เกือบทุกเว็บบนโลกนี้ ก็มีการ Host ผ่านโมเดล IaaS เช่นกัน
  • การบริการด้านแพลตฟอร์ม หรือPlatform as a Service (PaaS) คล้ายกันกับ IaaS แต่ให้การควบคุมมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ข้อมูลเล็กน้อยบางส่วนจะถูกควบคุมโดยเจ้าของ Cloud ในอดีตการที่จะพัฒนาและทดสอบ Software นั้น มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของระยะเวลา การลงทุน และ พื้นที่ ระบบ PaaS นี้สามารถจัดหา Platform เสมือนจริง สำหรับเพื่อพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้ามาใช้งานผ่านระบบออนไลน์ได้โดยไม่ต้องลงทุนในการจัดหาอุปกรณ์และระบบต่างๆ ด้วยตนเอง
  • การบริการด้านซอฟต์แวร์Software as a Service (SaaS) คือ Software ต่างๆ ที่มีการทำงานผ่านระบบ Cloud ยกตัวอย่างเช่น Dropbox Paper ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าไปสร้าง, แก้ไข และ แชร์ ไฟล์ข้อความแบบออนไลน์ได้โดยที่ไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมเข้าสู่ตัวเครื่องให้เปลืองพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำคือแค่เพียงกดใช้งาน Application จากอุปกรณ์ใดก็ได้ อีกหนึ่งตัวอย่างของ SaaS คือพวก Extension ที่ฝั่งลงใน Browser เพื่อใช้งานในหน้าที่ต่างๆ อาทิเช่น Grammarly เป็นต้น

หากสรุปอย่างง่ายๆ รูปแบบ IaaS จะมอบสิทธิในการควบคุมข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมด ในขณะที่รูปแบบ PaaS จะมอบสิทธิที่ลดลงมาเล็กน้อย และ รูปแบบ SaaS จะมอบสิทธิในการควบคุมให้ผู้ใช้แบบจำกัดที่สุด

การแบ่งประเภทของ Cloud จากการเข้าถึงของผู้ใช้งาน

  • Public Cloud คือคลาวด์แบบสาธารณะ โดยทำการเซอร์วิสที่รองรับการเข้าถึงได้โดยทุกๆ คน ยกตัวอย่างเช่น Dropbox เป็นต้น ทุกคนสามารถเช่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของเซอร์เวอร์ เปรียบเสมือนตึกออฟฟิศขนาดใหญ่ ที่ทุกคนมีโต๊ะและล็อคเกอร์เป็นของตนเอง
  • Private Cloud คือ คลาวด์แบบส่วนตัวที่โครงสร้างทั้งหมดของ Cloud จะถูกอุทิศให้ผู้ใช้งานเพียงหนึ่ง User เท่านั้น ผู้ใช้ยังคงจำเป็นต้องใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ Server ที่เก็บข้อมูลของคุณจะทำหน้าที่และอุทิศการทำงานทั้งหมดเพื่อคุณคนเดียวเท่านั้น ประโยชน์ของคลาวด์ประเภทนี้ คือมีความปลอดภัยและการทำงานจะมีประสิทธิภาพสูง เพราะไม่ต้องไปแชร์การทำงานของเซอร์เวอร์กับผู้ใช้งานอื่นๆ โดยการทำงานทั้งหมดจะอุทิศเพื่อผู้ใช้งานคนเดียว นอกจากนี้คลาวด์แบบส่วนตัวนี้ ยังมอบความสามารถในการควบคุม Server ทั้งหมดให้แก่ผู้ใช้งาน อาทิเช่น การปรับแต่ง, จัดการ, ตั้งค่า และ สำรองข้อมูล เป็นต้น
  • Hybrid Cloud คือการใช้งานควบคู่กันทั้ง Server ส่วนตัว และเซอร์เวอร์สาธารณะ ผู้ใช้จึงสามารถได้ประโยชน์ทั้งในความเป็นส่วนตัว และความสะดวกสบาย เช่น เลือกเก็บข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับใน Private Cloud แต่เก็บข้อมูลทั่วไปจำนวนมากใน Public Cloud
  • Multi Cloud เกิดขึ้นเมื่อองค์กรเลือกใช้งานแต่คลาวด์ประเภท Public Cloud หลายๆ เจ้ารวมกัน ต่างจากแบบ Hybrid ที่มีการใช้งานผสมกันระหว่างแบบสาธารณะและส่วนตัว รูปแบบนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ให้บริการ Public Cloud แต่ละเจ้า มีข้อดีและเซอร์วิสที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จึงเลือกใช้บริการจากหลายๆ ที่ เพื่อครอบคลุมฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด

ประโยชน์ของคลาวด์ต่อกลุ่มธุรกิจองค์กร

ในส่วนของผู้ใช้งานในระดับธุรกิจนั้น ประโยชน์ของ Cloud Computing นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญในองค์กร คือ การพัฒนาผลผลิต, ประสิทธิภาพ, การเติบโต และ ความทันสมัยขององค์กร ซึ่งประโยชน์หลักๆที่สามารถมองให้ได้ชัดเจนมีดังนี้

  • ลดต้นทุน การลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสร้างต้นทุนมหาศาลแก่ธุรกิจได้ การดูแลรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ไอทีนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับ คลาวด์ และการที่ต้องชำระเงินแค่ส่วนที่เช่าใช้เท่านั้น ช่วยให้ลดต้นทุนให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ในส่วน Hardware เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าแรงในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ และค่าไฟอีกด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อได้เปรียบ คือ การประหยัดเวลาในการแก้ไขเมื่ออุปกรณ์มีปัญหา
  • กู้คืนความเสียหาย การบันทึกข้อมูลสำคัญใน Cloud นั้น มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง การที่เราเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ Hardware เพียงชิ้นเดียวนั้น มีความเสี่ยงพอสมควรทีเดียวครับ เพราะหากเกิดปัญหากับตัวอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไม่เข้า ไปจนถึงถูก Malware ทำลาย ก็มีสิทธิที่ข้อมูลของผู้ใช้จะหายไปตลอดการ ในขณะที่คลาวด์จะมีบริการ Backup ข้อมูลของผู้ใช้ด้วยเซอร์เวอร์จำนวนมากในหลายๆ พื้นที่
  • ความปลอดภัยในการใช้งาน Cloud Computing นั้นมีระบบ Security ที่ยอดเยี่ยม ผู้ใช้งานอาจคิดว่าการเก็บข้อมูลสำคัญไว้กับอุปกรณ์ที่จับต้องและมองเห็นได้เองมีความปลอดภัยกว่า แต่อยากให้เห็นภาพว่า จริงๆแล้ว คลาวด์ ก็เปรียบเสมือนธนาคาร ผู้บริการ Cloud ส่วนใหญ่มักมีอุดมกาณ์ที่เน้นความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการให้บริการ ข้อมูลที่รับจะถูกเข้ารหัส ปกป้องเป็นอย่างดี โดยบางเจ้า ยังเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าไปตั้งค่าระบบ Security ได้เองอีกด้วย
  • พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น Cloud นั้นมีความสามารถที่จะปรับขยายเพิ่มพื้นที่ได้ ช่วยให้บริษัทที่มีการเติบโต สามารถขยายพื้นที่เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ในทางตรงการข้าม สำหรับองค์กรที่มีการลดขนาดการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลลดลง ก็สามารถปรับพื้นที่ให้ลดลงได้ให้เช่าใช้ Cloud แต่แรก แต่หากมีการใช้อุปกรณ์ Hardware เป็นตัวเก็บข้อมูล ก็เป็นเรื่องยากที่จะขายพื้นที่ส่วนเกินออกไป
  • สะดวกต่อการทำงาน Cloud ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ถ้ามีอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลก ด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ที่เน้นความยืดหยุ่นในสถานที่ทำงานมากขึ้น ระบบคลาวด์จึงทำหน้าที่สำคัญในการเข้ามาช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอุปกรณ์อื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น
  • การทำงานร่วมกัน พนักงานทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพราะไฟล์ต่างๆ ที่จัดเก็บสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (หรือเฉพาะคนที่ตั้งค่าอนุญาต) ด้วยระบบคลาวด์บริษัทสามารถสร้างทีมที่มีสมาชิกหลายสิบคน ทำงานในไฟล์เดียวกัน พร้อมกัน ในสถานที่ที่ต่างกันได้ ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการ บริหาร และ จัดการการทำงานแบบเป็นทีมได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ของคลาวด์ต่อการใช้งานส่วนตัว

ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดคือ คุณสามารถประหยัดพื้นที่ได้แน่นอน หากคุณไม่ได้ใช้บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์อยู่ในขณะนี้ ไฟล์ส่วนใหญ่ของคุณอาจได้รับการบันทึกไว้บนคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนของคุณ หากคุณไม่มีที่ว่างเหลืออยู่บนอุปกรณ์นั้น คุณก็อาจเลือกใช้ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก และหากพื้นที่เต็มแล้ว คุณก็จะหาซื้อฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่สองและฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกอื่นต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้การหาเอกสารเก่าๆ ที่คุณต้องการโดยด่วนนั้นเป็นเรื่องยากมากขึ้นในทันที
และด้วยปัจจุบันมีซอฟแวร์บนคลาวด์ให้ใช้งาน ซึ่งก็หมายความว่าคุณจะสามารถทำงานและสร้างงานจากอุปกรณ์ใดก็ได้จากทุกๆ ที่ รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลต่างๆ กับคนรอบข้างของคุณ ที่สามารถทำได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

“เห็นได้ชัดว่า Cloud หรือ Cloud Computing เป็นประโยชน์ต่อคุณอย่างมากมาย ไม่ว่าคุณจะใช้ที่บ้านหรือที่ทำงาน เพราะคลาวด์สามารถเพิ่มประสิทธิผล ปรับปรุงองค์กร เพิ่มความร่วมมือ และลดค่าใช้จ่าย ไปพร้อมๆ กับรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลของคุณได้”

ที่มา https://addin.co.th/blog/what-is-cloud
รูปภาพ https://www.pexels.com/