Management Accounting for Planning ,Controlling and Decision Making EP.1

การบัญชีเพื่อการบริหาร การวางแผน การควบคุม
และการตัดสินใจ EP.1

การบัญชีเพื่อการบริหาร เพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีกระบวนการจัดการที่ดี ซึ่งจะช่วยให้การบริหารงานเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อนที่เราจะไปดูกระบวนการสำคัญที่เป็นส่วนประกอบต่างๆนั้น เราจะมาดูเรื่องความแตกต่างระหว่างการบัญชีเพื่อการจัดการ และการบัญชีการเงินกันก่อน

ความหมาย
การบัญชีเพื่อการจัดการ Vs การบัญชีการเงิน

การบัญชีการเงิน(Financial Accounting)

เป็นบัญชีที่มีการจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศให้แก่ผู้บริหาร และบุคคลภายนอกองค์กร เช่น นักลงทุน ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล เช่น กรมสรรพากร กรมทะเบียนธุรกิจและการค้า ซึ่งบัญชีการเงินนี้จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ

บัญชีเพื่อการจัดการ (Management Accounting)

เป็นข้อมูลสารสนเทศที่จัดทำขึ้นสำหรับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อใช้ในการตัดสินใจภายใน เช่น ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้างาน หรือบุคลากรที่มีความต้องการให้ข้อมูลดังกล่าว โดยบัญชีเพื่อการจัดการนี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป รูปแบบและระยะเวลาสำหรับรายงาน ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร

จากความหมายข้างต้น สามารถแยกความแตกต่างของทั้ง 2 บัญชี
ได้ 7 ประการ ดังนี้

1. ผู้ใช้ (User)

  • บัญชีการเงิน ผู้ใช้เป็นผู้บริหารและบุคคนภายนอกองค์กร โดยเฉพาะสองกลุ่มหลัก คือเจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมเงินเพื่อการลงทุน และกลุ่มนักลงทุนที่เข้ามามีหุ้นส่วนในองค์กร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน
  • บัญชีเพื่อการจัดการ ผู้ใช้คือบุคคลในองค์กร ที่ต้องวางแผนควบคุม และบริหารจัดการองค์กร เช่นผู้จัดการ หัวหน้างาน

2. ช่วงเวลาที่ต้องFocus (Time Focus)

  • บัญชีการเงิน มองแค่ผลงานที่ผ่านมา จะใช้ข้อมูลการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จะเห็น ประวัติ มุมมอง และจุดอ่อนจุดแข็งต่างๆ
  • บัญชีเพื่อการจัดการ จะใช้ข้อมูลทั้งหมดเพื่อพิจารณาในอนาคต ว่าต้องมีค่าใช้จ่ายอะไร เท่าไหร่ ต้องใช้ทรัพยากรมากแค่ไหน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ ให้มีอนาคต

3. ลักษณะของการตรวจสอบข้อมูล(Verifiability versus relevance)

  • บัญชีการเงิน เราจะตรวจสอบการตรวจสอบ การตรวจสอบที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ในข้อแรก
  • บัญชีเพื่อการจัดการ เราจะตรวจสอบเพื่อวัตถุประสงค์เชิงวิเคราะห์ เพื่อการบริหารจัดการ และวางแผนการจัดการองค์กร

4. ความแม่นยำเมื่อเทียบกับเวลา (Precision versus timeliness)

  • บัญชีการเงิน ต้องการข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด หาวิธีในการทำให้ได้ข้อมูลที่มีความแม่นยำ 100% สามารถรอเวลาการทดสอบ หรือรวบรวมข้อมูลประมาณการที่แม่นยำที่สุด
  • บัญชีเพื่อการจัดการ เน้นความตรงต่อเวลา ต้องการข้อมูลที่รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราไม่สามารถรอความแม่นยำได้ 100% เราจึงอาศัยการประมาณการและหวังว่าจะทำได้ดี หากต้องมีการทดสอบ ก็ต้องได้ข้อมูลทันเวลาที่ต้องการ

5. มุมมอง (Subject)

  • บัญชีการเงิน ต้องการมุมมองแบบมหภาค ดูข้อมูลโดยรวมทั้งบริษัทโดยไม่ได้แบ่งแยกย่อย
  • บัญชีเพื่อการจัดการ ต้องการมุมมองแบบแบ่งแยกย่อย ข้อมูลแบบแยกตามความเกี่ยวข้อง เช่น สายการผลิต ดูข้อมูลการผลิตเพียงอย่างเดียว หรือแผนกขาย อาจแบ่งแยก ตามพื้นที่ ตามภาค ตามประเทศ เป็นต้น

6. กฎ (Rules)

  • บัญชีการเงิน ทำอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมาย ตามหลักบัญชีทั่วไปที่ต้องมีการรองรับ ทำด้วยข้อบังคับภายนอกองค์กร
  • บัญชีเพื่อการจัดการ ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย ไม่มีรูปแบบที่กำหนดไว้แต่อย่างใด แต่ผูกมัดด้วยความต้องการของบริษัท เช่นเมื่อผู้จัดการต้องการข้อมูลจากเรา เราต้องทำทุกวิธีและทุกรูปแบบ ที่สามารถให้ข้อมูลได้ทันท่วงที ตรงตามที่ผู้จัดการต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องรายงานสู่ภายนอกองค์กร

7. ข้อกำหนด (Requirement)

  • บัญชีการเงิน ต้องรายงานตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับ กับผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอกองค์กร เช่น แจ้งรายงาน การเปลี่ยน CEO ให้กับตลาดหลักทรัพย์
  • บัญชีเพื่อการจัดการ ไม่ต้องรายงานตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับใดๆ

“นี่คือความหมาย และความแตกต่างกันของ บัญชีการเงิน และบัญชีเพื่อการจัดการ ซึ่งในบทความต่อไปเราจะเข้าถึงในส่วนของ ผู้บริหารและบทบาทการจัดการภายในบริษัท การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ แล้วพบกันอีกครั้งใน EP ต่อไป”

ขอบคุณข้อมูล
การบรรยายการบัญชีของ Farhat

https://www.youtube.com/watch?v=q-MirwJgngg&list=PLxP0KZzCGFYPGWcVJQ2PQs5knCz3K8mRc&index=1