Outing Trip บริษัทจัดเที่ยวประจำปีจัดทำภาษีอย่างไร ?

ทำงานเหนื่อยกันมาทั้งปี หากบริษัทจัดให้มีการท่องเที่ยวประจำปีคงดีไม่น้อยในความรู้สึกของพนักงาน นั้นเพราะการจัดการท่องเที่ยวประจำปีให้กับพนักงาน หรือ Outing Trip ถือเป็นสวัสดิการพนักงานอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยทำให้พนักงานสนิทสนมกันมากขึ้น และสร้างให้เกิดการทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น

การพาพนักงานไปเที่ยวประจำปี

โดยปกติแล้วบริษัทจะต้องมีการกำหนดในระเบียบของบริษัทว่าบริษัทมีภาระที่ต้องจัดสวัสดิการดังกล่าวหรือแจ้งให้พนักงานทราบเป็นการทั่วไป แต่การพาพนักงานไปเที่ยวต่างๆ นั้น ทางกรมสรรพากร ถือว่าเป็นผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากหน้าที่การงานของพนักงาน ดังนั้นจะถือเป็นเงินได้ของพนักงาน จึงต้องนำไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

“การพาพนักงานไปเที่ยวประจำปี : ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศเพื่อเป็นการพักผ่อนหลังจากการทำงานมาทั้งปี พนักงานจะถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับตามมาตรา40(1) พนักงานต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของพนักงานด้วย”

** ส่วนกิจการค่าใช้จ่ายในการของการพาไปเที่ยวนี้ สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ไม่ต้องห้าม **

นั้นจึงเป็นเรื่องที่ทางบัญชีต้องจัดทำรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงเกี่ยวกับภาษีที่ต้องจัดทำโดย

ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับ Outing trip ได้แก่

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
  • เมื่อมีการกำหนดระเบียบของบริษัท ให้บริษัทมีภาระที่ต้องจัดสวัสดิการโดยพาพนักงานไปท่องเที่ยวประจำปี หรือบริษัทได้แจ้งให้พนักงานทราบโดยทั่วไป โดยไม่เฉพาะเจาะจงบุคคล

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับ Outing Trip สามารถนำมาเป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรเนื่องจากถือเป็นสวัสดิการพนักงาน

ภาษีซื้อ : ที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการพาพนักงานไปเที่ยวประจำปี หากเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสวัสดิการและเป็นการจัดให้แก่พนักงานทุกคนในลักษณะสวัสดิการโดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานบางคน ถือว่าเป็นประเภทสวัสดิการของพนักงานและถือเป็นรายจ่าย นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • ต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

4. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

  • บริษัทต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร


ยกตัวอย่าง

บริษัท A พาพนักงานไปเที่ยวประจำปี จัดทำเป็นระเบียบข้อบังคับให้พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปมีหลักฐานการจ่ายจริง
ฉะนั้น รายจ่ายค่าพาพนักงานไปเที่ยวควรถือเป็นสวัสดิการพนักงาน เนื่องจาก ค่าสวัสดิการพนักงานขอคืนภาษีซื้อได้ แต่หากจัดทำเป็นค่ารับรองจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้ เนื่องจากค่ารับรองต้องเป็นการรับรองลูกค้า และหากค่าใช้จ่ายเกินเพดานที่กฎหมายกำหนดจะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

“จะเห็นได้ว่าการจัดการท่องเที่ยวประจำปีของบริษัทเป็นการสร้างภาระด้านภาษี และค่าใช้จ่ายให้กับทางตัวพนักงาน”
แต่ในทางภาษีมีทางออกในการจัดทำเรื่องนี้ เพื่อให้การท่องเที่ยวประจำปีสร้างความสุข สร้างความร่วมมือร่วมใจของพนักงานในบริษัท และทำให้พนักงานมีความสุขในการอยู่กับบริษัทที่มีสวัสดิการดีๆให้
….แล้วพบกันใน EP ต่อไป

ที่มา https://www.twentyfouraa.com/post/outing-trip-and-tax-deductible

https://www.wayaccounting.com/


รูปภาพ
https://www.pexels.com/