RPA ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัจฉริยะ ยกระดับงานบัญชียุค Digital Accounting

ในการทำงานที่ก้าวเข้าสู่ยุค Digital คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานจากการทำงานแบบ Manual Process ลดกระบวนการทำงานที่ใช้มนุษย์ เพื่อตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ที่ทุกอย่างเร็ว และมีการแข่งขันอย่างสูง เพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรอยู่ตลอดเวลา การนำเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม ถูกพูดถึงอย่างมากในยุคนี้ได้แก่ Robotic Process Automation หรือ RPA ซึ่งเป็นการนำซอฟต์แวร์หุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการทำงานที่มีลักษณะซ้ำ ๆ ไม่มีรูปแบบซับซ้อน มีกฎเกณฑ์ชัดเจน ซึ่ง RPA สามารถจัดการงาน หรือทำงานแบบซ้ำ ๆ ให้ออกมาโดยเร็วและแทบจะไม่มีข้อผิดพลาด

RPAผู้ช่วยนักบัญชียุคDigital

ถ้าเปรียบเทียบกับการใช้งานที่มนุษย์ทำงานกับคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น Head Work กับ Hand Work ซึ่ง RPA เป็นส่วนของการทำงานรูปแบบ Hand Work หากพูดถึงการทำงานแบบ Head Work ต่อไปในอนาคตจะเป็นในรูปแบบ AI นั่นเอง

สรุปสั้น ๆ RPA ก็คือ Software ที่เป็น AI ในระดับต้น ๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรมในการทำงานแทนคน ดังนั้น หุ่นยนต์นักบัญชีจึงไม่ได้ หมายความว่าการให้นักบัญชีมาเป็นหุ่นยนต์แต่เป็นการนำ Software มาทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์แทนนักบัญชีโดยเป็นผู้ช่วยของนักบัญชีนั่นเองและ RPA ยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง อีกทั้งโอกาสในความผิดพลาดยังมีน้อยกว่าการทำงานโดยคนอีกด้วย ทำให้นักบัญชีมีเวลามาทำงานประเภท Head Work ได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กร

และปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของ COVID-19 เป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ให้มีการปรับตัวเร็วขึ้น นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งองค์กรและผู้ประกอบธุรกิจต้องหันมาพัฒนาตัวเองหนักกว่าเดิม โดยเฉพาะการทำ Digital Transformation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และวัดผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติอย่าง RPA มีความสามารถช่วยพัฒนากระบวนการทำงานได้ดียิ่งขึ้นได้

ปัจจุบันมี RPA Platform มากมายในราคาที่สามารถจับต้องได้ ตั้งแต่องค์กรระดับเล็กจนถึงองค์กรระดับใหญ่ Platform ต่าง ๆ นอกจากสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งาน แล้วบาง Platform ยังเน้นให้นักบัญชีสร้างหรือออกแบบการทำงานของนักบัญชีเองได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเก่งระดับโปรแกรมเมอร์ RPA ที่มีอยู่หลากหลายแบรนด์ในตลาด เราควรจะมีวิธีการเลือกใช้งาน RPA อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรของท่าน

การเลือก RPA เทคโนโลยี
  • Low-Code Capabilities

    ไม่จำเป็นต้องเขียน Code สำหรับการสร้าง Workflow หรือชุดคำสั่งของ RPA เพื่อให้ทำงานตามขั้นตอนที่เราต้องการโดยไม่จำเป็นต้องเขียน Code โดยเครื่องมือที่เป็นลักษณะ Low-Code อาจอยู่ในรูปของชุดคำสั่งสำเร็จรูปลักษณะ Drag & Drop หรือ Screen Record ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ใช้ทั่วไป หรือ Business User สามารถพัฒนาชุดคำสั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งาน

  • Attended Vs. Unattended Robot

    รองรับการทำงานของ Bot ทั้ง 2 รูปแบบ ตามลักษณะการทำงานที่เหมาะสม เช่น งานในลักษณะ On-Demand ที่ผู้ใช้งานต้องเป็นคนสั่ง จะเหมาะสำหรับ Attended Bot ส่วนงานที่จะต้องมีการ Trigger จาก Event ต่างๆ จะเหมาะสำหรับ Unattended Bot เป็นต้น

    • ตัวอย่างลักษณะงานของ Attended Bot : การดึงค่าอัตราแลกเปลี่ยนจากเว็บไซต์ธนาคาร โดยพนักงานฝ่ายบัญชี, การเปรียบเทียบข้อมูลการเงิน (Reconciliation) โดยพนักงานฝ่ายการเงิน, การดึง Report โดยพนักงานฝ่าย Operation เป็นต้น
    • ตัวอย่างลักษณะงานของ Unattended Bot : การสร้างใบ Purchase Order เมื่อได้รับ Purchase Request จากระบบ, การดึง Attachment File เก็บใน Share Folder เมื่อได้รับ e-mail เข้ามาจากฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
  • AI Functionalities

    สามารถทำความเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language Processing Extractors) เพื่อให้สามารถแยกแยะข้อมูลต่างๆออกมาจากข้อความได้ เช่น ชื่อลูกค้า, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ความถึงรองรับการพัฒนาโมเดลต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับ RPA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • Unlimited OCR

    แปลงรูปภาพเป็นข้อความ OCR หรือ Optical Character Recognition เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการแปลงรูปภาพให้เป็นข้อความ โดยเป็นเครื่องมือที่มักทำงานร่วมกับ RPA เพื่อให้ได้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของ Structure Data เพื่อให้ RPA นำไปใช้งานต่อยัง Application ปลายทาง การมี OCR อยู่ในชุดคำสั่งจึงทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องมองหา 3rd party มาใช้งาน รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายในแง่ของ Licensing ได้อีกด้วย

  • Chatbot Integrated

    การมี Chatbot Build-in มาให้ในชุดคำสั่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน RPA ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การนำ chat bot ไปใช้ในลักษณะ virtual Assistant โดยรับข้อมูลเบื้องต้นจากผู้ใช้ และส่งข้อมูลเหล่านั้นใน RPA นำไปใช้งานต่อตาม Workflow ที่กำหนดไว้ เป็นต้น

  • Scalability

    รองรับการขยายการทำงาน RPA ที่ดีควรจะต้องรองรับการขยายการทำงาน ในอนาคตหากมีการใช้งาน Robot เพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้งานควรจะสามารถขยายจำนวนของ Robot ได้ตามความต้องการ ทั้ง Attended และ Unattended Bot โดยไม่ส่งผลกระทบกับงานที่ทำอยู่

  • Flexible Deployment

    รองรับการทำงานทั้งบน Cloud และ On-Premise

  • Flexible Licensing

    มี Model การขายหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า เช่น การเช่าใช้รายปี (Subscription) หรือการซื้อขาด (Perpetual) เป็นต้น

“การเลือก RPA Platform ที่ตอบโจทย์ ลดขั้นตอนการทำงาน มีความยืดหยุ่นโดยงบประมาณที่ใช้ไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ น่าจะเป็นอาวุธชิ้นสำคัญในการทำงานและการพาองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ในยุค Digital ที่มีภาวะของโรคระบาด Covid-19 อีกด้วย”

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

https://www.tfac.or.th/

https://www.techtalkthai.com/